Next Generation Network ( NGN ) หมายถึง โครงข่ายที่มีการรับส่งข้อมูลภายในโครงข่าย เป็นไปในลักษณะ Packet - Based
ทั้งนี้ลักษณะของ Packets สามารถเป็นไปได้ทั้ง ATM หรือ IP แต่โดยทั่วไป มักเน้นหนักไปทางด้านของ IP เนื่องจากเป็นรูปแบบที่นิยมใช้กัน
ทั่วไป เราสามารถพบเห็นได้จากรูปแบบของโครงข่าย Internet ในบทความนี้ เราจะให้ความสำคัญกับ IP Packets และ IP Protocol เป็นหลัก

NGN จะเข้ามาทดแทนระบบโครงข่ายแบบ TDM ( PSTN,PLMN ) เดิมในที่สุด ทั้งนี้ NGN สามารถจัดส่งบริการรูปแบบใหม่ๆ ให้กับลูกค้า
ปลายทางได้ เช่น Multi-Media ( audio,video,data,web... ) Presence and Availability, Instant Messaging..... นั่นคือโครง
ข่าย NGN เป็นโครงข่ายที่รองรับ Application ในลักษณะที่เป็นข้อมูลโดย NGN สามารถที่จะรองรับปริมาณข้อมูลที่มีความจุสูงๆ ได้ทั้งนี้ใน
ส่วนของเสียงจะถุกส่งผ่านในรูปของ Packets ไปพร้อมกับข้อมูล

 
  อย่างไรก็ตามในขณะนี้โครงข่ายแบบ
  TDM จะยังคงมีบทบาทสำคัญไปอีก
  นาน แต่จะค่อยๆ ลดบทบาททีละน้อย
  จนกระทั่งโครงข่ายเปลี่ยนเป็น NGN
  โดยสมบูรณ์ นั่นหมายความว่า ณ ขณะ
  นี้เราต้องเผชิญกับโครงข่ายในลักษณะ
  ผสม  ระหว่าง  โครงข่าย  TDM กับ
  NGN    Hybrid   TDM / NGN
  ( IP/ATM ) โดยทั่วไปลักษณะที่เรา
  พบของเครือข่ายผสมแบบ TDM/IP
  นั้นโครงข่าย   TDM    (  PSTN /
  PLMN ) จะเชื่อมต่อกับโครงข่าย IP
  ผ่านทาง Gate way ซึ่งจะทำหน้า
  ที่ในการเปลี่ยนแปลง Protocol ให้
  สามารถสื่อสารกันได้ (  Protocol -
  Conversion )

                ในความเป็นจริงนั้น  ลักษณะการเข้าถึงโครงข่ายทั้งแบบ  FIxed  Line, GSM, UMTS  ยังไม่เป็นไปในลักษณะ Transparent  โดย
สมบูรณ์   เนื่องจากความสามารถที่แตกต่างกันของเครื่องลูกข่าย ( Terminal ) ที่ใช้งาน  เนื่องจากครื่องลูกข่ายที่ใช้งาน  เนื่องจากเครื่องลูกข่ายที่ใช้
งานจะเป็นลักษณะเฉพาะแต่ละ Application  ดังนั้นการใช้งานทางด้านเสียงยังคงเป็น  Application  ที่สำคัญอย่างยิ่งในขณะนี้  Application
ดังนั้นผู้ให้บริการทางด้านเครือข่าย   มีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนบริการเสริมต่างๆ   ที่ใช้ใน  Voice  Application  ในโครงข่าย  TDM  ให้
สามารถที่จะทำงานร่วมกับโครงข่ายแบบ IP ได้

                 NGN  Application  จะเป็นความจริงได้หากเราสามารถที่จะนำ  Next  Generation Networks ไปสู่ลูกค้าปลายทางได้ อย่างไรก็
ตาม   ยังคงต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง   เพื่อที่จะให้เป็นความจริงได้ ทั้งที่ในปัจจุบันนี้เราพบว่า   Multimedie  PC  เป็นที่นิยมแพร่หลายและมี
ราคาถูกลงอย่างมาก ภายใต้ระบบปฎิบัติการใหม่ๆ  เช่น  Windows XP จะประกอบด้วย  H.232 และหรือ SIP Client  มาด้วย และนอกเหนือไป
กว่านั้น  อุปกรณ์บางชนิดจะเริ่มพบเห็นได้ในอนาคตเช่น  Residential  gateways , Integrated   Access  Devices and  H.323/SIP
phones  นั้นหมายความว่า  ลูกค้าปลายทางทั้งแบบลูกค้าบุคคลตามบ้าน   หรือลูกค้าแบบองค์กรบริษัทฯ  เริ่มเข้าถึงการเป็น " Next Generation
Network End User " เช่นการที่สามารถสื่อสารผ่านทาง VoIP, Net Meeting

                             


< IN APPLICATIONS FOR THE IP-DOMAIN >

                  ในกรณีที่ผู้ให้บริการโครงข่ายมีบริการเสริม บนเครือข่าย TDM ที่ใช้งานบนระบบโครงข่ายอัจฉริยะ Intelligent Network ทั้งนี้การ
หาระบบโครงข่ายสามารถที่จะปรับเปลี่ยน Applicattion มาทำงานบนระบบโครงข่ายแบบ IP

ระยะที่ 1 
                 ในระยะแรกนี้  เราเพียงแค่พิจารณาแค่ในส่วนการใช้งานทางด้านเสียงเพียงอย่างเดียว  ผู้ให้บริการ  ( Public  Network Operators)
สามารถที่จะใช้   Intelligent   Network   Application   เดิมที่มีอยู่ในโครงข่ายแบบ  TDM   เพียงแค่ปรับแต่งแค่เพียงเล็กน้อย  ทั้งนี้เนื่องจาก 
Intelligent  Network  Application เดิมจะเป็นไปในลักษณะการ Transparent ไปยังลูกค้าปลายทางไม่ว่าลูกค้าคนนั้นจะอยู่บนโครงข่ายของ
PSTN/PLMN หรือ IP  ดังนั้นความเป็นไปได้ของการเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายที่จะเกิดขึ้นคือ

                                                                         PSTN to PSTN
                                                                         IP to IP
                                                                         PSTN to IP 
                                                                         IP to PSTN

ระยะที่ 2 
                 ในระยะนี้  เราเพียงแค่พิจารณาเพิ่มความสามารถอย่างอื่นๆ   เข้าไปเช่น  Multimedia  ( transferring of video, pictures, web-
page,data )  รวมถึงการเพิ่มเติมบริการใหม่ๆ  เข้าไป  เช่น  Internet call waiting , Browse and talk  ที่เป็น  Application สำหรับงาน
ทางด้าน Internet

                                     


< HOW TO RE-USE THE EXISTING IN APPLICATION IN THE IP - DOMAIN.... >

                     เมื่อเราต้องการที่จะใช้ IN Application เดิมที่มีอยู่ในโครงข่ายแบบ TDM มาใช้ร่วมกับโครงข่ายผสมนั้น เรามีคความจำเป็นต้อง
ปรับเปลี่ยน  Service  Potocol  ก่อน   เนื่องจาก  IN  Application  ที่ใช้งานโนโครงข่ายแบบ  TDM  นั้น   จะเข้าใจในรูปแบบของ  INAP
( intelligent  network application  protocol )  เท่านั้นหากต้องการใช้งานร่วมกับโครงข่ายอื่นๆเช่นโครงข่าย IP เราจะใช้อุปกรณ์  Soft
switches เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปรับเปลี่ยน  Service Protocol  จาก  IP เป็น  INAP  หากต้องการที่จะปรับเปลี่ยนเป็น Service Protocol 
แบบอื่นๆ เราสามารถที่ใช้ Inter-working Funtion ( IWF ) ในการปรับเปลี่ยน Service Protocol เป็น INAP. 

                     ดังนั้น SIP ( Session Initiation Protocol )  ใน IP Domain  เนื่องจากเป็น  Protocol ที่นิยมใช้กันแพร่หลายดังนั้น SIP-
INAP  IWF  จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก  ในการที่เราจะใช้งาน IN Application  เดิมในโครงข่าย IP  

 < Alcatel   NGN   Solution Architecture.>

                      จากภาพเป็นการแสดง  Alcatel Solution  ในการเชื่อมต่อระบบ Intelligent  Network Open Service Plaform เข้ากับ
โครงข่ายแบบTDM และ IP หรือ ATM 

                       Alcatel A5000  และ  A5020  SX  Soft  switch  solution  gatewey  ที่ใช้เชื่อมต่อส่งผ่าน และปรับเปลี่ยน Protocol 
ระหว่างโครงข่าย TDM/IP-ATM

                       Alcatel   A8690  OSP  (  Intelligent   Network  (  SCP  และ  SMP  ) และ   Alcatel  A8686  Media  Server 
( Specialised Resource Point, SRP ) Solution เป็น Solution ที่ประกอบไปด้วยระบบ Intelligent Network และ Multimedia
Application รวมถึง SCE Tools เพื่อช่วยพัฒนา Application

                      Alcatel NSM เป็นระบบที่บริหาร และจัดการเครือข่ายโดยรวม ( Integrated Network Management ) ที่สามารถบริหาร
และจัดการเครือข่ายในส่วนต่างๆในเครือข่าย NGN 

                       Alcatel Portal เป็นส่วนที่สนับสนุนให้ลูกค้าปลายทาง  สามารถที่จะทำ User self-suscription,profile managemant
,registration  ในระบบเครือข่ายแบบ   NGN   ซึ่งเราสามารถแสดงการเชื่อมต่อในรูปแบบของการใช้งาน   Protocol   ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ
ในเครือข่าย   ส่วนสำคัญที่เกิดขึ้นในเครือข่าย คือ   การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์   soft  switch   ซึ่งมีความจำเป็นในการที่จะปรับเปลี่ยน   Protocol
ซึ่งเราสามารถแสดงการเชื่อมต่อในระหว่าง   Alcatel   A8690  OSP  และ  Alcatel  A8686  Media  Server  และ  Alcatel  A5020
Softswitch 

                                

 
< CONCLUSION  >

                   เมื่อเราต้องการที่จะใช้ IN Appllication เดิมที่มีอยู่ในโครงข่ายแบบ TDM มาช่วยร่วมกับโครงข่ายผสมนั้น  ผู้ให้บริการทางด้านเครือ
ข่ายต้องพิจารณาการเชื่อมต่อระหว่าง Protocol ในโครงข่ายผสมที่เกิดขึ้น และที่สำคัญระบบโครงข่ายอัจฉริยะต้องมีความสามารถเพียงพอที่จะรอง
รับความสามารถ   แบบเปิด  ( Open Service Platform )  นั่นคือ  ระบบต้องสามารถรองรับการทำงานได้หลากหลาย  Protocol  รวมถึงความ
สามารถของ Platform ที่สามารถรองรับ Services และ Protocol ใหม่ๆ ได้ในอนาคต....  สนใจใช่มั้ย..ล่ะ

 .......................................................................................................................................