กิตติ สิริพัลลภ
                               ( ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ )

บทนำ

                       ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เรียกกันว่ายุคนี้คือ ยุคดิจิตอล ระบบการตลาดก็เช่นเดียวกัน ผลจากเทคโนโลยีทำให้ระบบการ
ตลาดเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้การตลาดต้องปรับตัวให้ทันกับระบบการค้า บทความนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อเสนอแนวคิดทางการตลาดอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า Electronic Marketing หรือ E-Marketing เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความแตกต่างระหว่างการตลาดแบบดั้งเดิม
( Traditional Marketing ) กับการตลาดแบบอิเล็กทรอนิคส์ ทั้งทางด้านแนวคิด ลูกค้า สินค้า และบริการ และกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญ

                       เนื่องจาการใช้อิเล็กทรอนิคส์เป็นเครื่องมือทางการพาณิชย์มีหลายรูปแบบ เช่น อินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และโทรสาร เป็นต้น บท
ความนี้จะกล่าวถึงการตลาดอิเล็กทรอนิคส์ทางอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้กันมากที่สุด ซึ่งอาจจะเรียกว่า " Online Marketing " หรือ " Web
Marketing " ก็ได้ ประชากรบนอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า " Netizen " มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการสำรวจของ www.nua.ie ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนสิงหาคม
ค.ศ. 2000 พบว่ามีประชากรอยู่ 332.73 ล้านคนทั่วโลก ประชากรเหล่านี้แยกตามทวีปได้ดังนี้

แอฟริกา
เอเซีย/แปซิฟิก
ยุโรป
ตะวันออกกลาง
แคนาดาและอเมริกา
ละตินอเมริกา
สำหรับประเทศไทยมีประชากรอินเตอร์เน็ตอยู่ประมาณ 1 ล้านคน
      2.77
    75.50
    91.82
      1.90
  147.48
    13.19
      ล้านคน
      ล้านคน
      ล้านคน
      ล้านคน
      ล้านคน
      ล้านคน

นิยามของการตลาดอิเล็กทรอนิคส์

                      การตลาดอิเล็กทรอนิคส์ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ เช่น คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการดำเนิน
กิจกรรมทางการตลาดกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นกิจกรรมที่เป็นการสื่อสาร 2 ทาง และกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถติดต่อกับผู้บรโภคได้ทั่วโลกและตลอดเวลา

ลักษณะพิเศษของการค้าแบบอิเล็กทรอนิคส์

                     1.  ตลาดเป็นตลาดแบบเจาะจง ( Niche Market ) ลูกค้ามาที่เว็บไซต์มีจุดมุ่งหมายจะซื้อสินค้าที่เขาอยากได้ เช่น ผู้ต้องการซื้อรองเท้าก็จะเข้ามาดูเว็บ
                         ที่ขายรองเท้า
                    2.  เป็นการแบ่งส่วนตลาดเชิงพฤติกรรม ( Behavioral Segmentation ) การจัดกลุ่มลูกค้าพิจารณาจากความสนใจคุณค่าที่
ลูกค้าให้ติดต่อสินค้าหรือ
                         บริการใดบริการหนึ่ง และวิถีชีวิตของลูกค้า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของลูกค้า
                    3.  เป็นการตลาดแบบตัวต่อตัว ( Personalize Marketing / P - marketing ) ลูกค้าสามารถกำหนดรูปแบบของสินค้าและบริการได้ตามความต้องการ
                         ซึ่งอาจจะแตกต่างกับผู้อื่น เช่น www.ivillege.com เสนอเมนูอาหารให้แม่บ้านเลือกโดยให้แม่บ้านเลือกประเภทของวัตถุดิบ และระยะเวลาใน
                         การประกอบอาหารเอง แม่บ้านก็จะได้เมนูอาหารพร้อมวิธีการปรุง
                    4.  ลูกค้ากระจายอยู่ทั่วโลก เพราะระบบอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้ทุกพื้นที่ทั่วโลก ทำให้ตลาดกว้างใหญ่ไพศาล
                    5.  ทำธุรกิจได้ตลอดเวลา ผู้ขายสามารถเปิดร้านขายได้ 365 วัน 24 ชม. โดยมาตรฐานคงที่ ซึ่งคุณลักษณะข้อนี้ได้เปรียบกับการค้าแบบดั้งเดิม ซึ่ง
                         บุคลากรต้องการพักผ่อน ถ้าจะขยาย 24 ชั่วโมง ต้องใช้พนักงานขายถึง 2-3 คน
                    6.  ข้อมูลของสินค้าและบริการเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคจะรู้จักและเกิดความรู้ในสินค้า ( Product Knowledge )
                         จากข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์ เขาไม่มีพนักงานขายคอยแนะนำ
                    7.  ธุรกิจออนไลน์เป็นกิจกรรมทางการตลาดแบบผสม บนเว็บไซต์การโฆษณาประชาสัมพันธ์ขาย การชำระเงินและกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้เกิดซื้อขาย
                         สินค้า อยู่รวมกันในเว็บไซต์
 
                    8.  เป็นการสื่อสาร 2 ทาง ผู้ซื้อกับผู้ขายสามารถโต้ตอบกันได้ทันที
                    9.  เป็นการดำเนินธุรกิจด้วยต้นทุนต่ำ เพราะใช้บุคลากรจำนวนน้อย การสื่อสารการตลาดทำได้รวดเร็วและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ซึ่งถ้าเป็นการ
                         ตลาดแบบดั้งเดิมการจัดทำแค็ตตาล็อก หรือชิ้นงานโฆษณาจะต้องใช้เวลานาน และใช้งบประมาณสูง แต่ในระบบอิเล็กทรอนิคส์ผู้ขายสามารถจัด
                         ทำได้เร็วและราคาถูก นอกจากนี้ธุรกิจแบบนี้ยังไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์สินถาวรที่ราคาสูง เช่น สถานที่ทำงาน อุปกรณ์สำนังาน เพราะติดต่อกับ
                         ลูกค้าบนจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น
                  10.  สินค้าบางประเภทจะถูกจัดส่งให้ลูกค้าได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เช่น การดาวน์โหลดเพลง หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์    

ความแตกต่างระหว่างการตลาดแบบดั้งเดิม ( Traditional Marketing ) กับการตลาดอิเล็กทรอนิคส์
( Electronic Marketing )

            ถ้าพิจารณาในเชิงเปรียบเทียบระหว่างการตลาดแบบดั้งเดิมและการตลาดอิเล็กทรอนิคส์ พอสรุปได้ดังตารางข้างล่างนี้
                

        ปัจจัยทางการตลาด              การตลาดแบบดั้งเดิม              การตลาดอิเล็กทรอนิคส์
   ลูกค้า


   หลากหลาย


   เฉพาะกลุ่มส่วนใหญ่มีความรู้ค่อนข้างสูงใน
   ประเทศไทยเป็นคนในเมืองเป็นส่วนใหญ่

   การวิจัยตลาด

   มักทำกับกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่ม

   ทำกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

   การแบ่งส่วนตลาด


   ใช้เกณฑ์สภาพภูมิศาสตร์ และประชากรศาสตร์
   เป็นหลัก

   ใช้เกณฑ์พฤติกรรมศาสตร์เป็นหลัก


   ประเภทของสินค้า



   แบ่งได้หลายแบบที่นิยมคือแบ่งตามพฤติกรรม
   การซื้อคือ แบ่งเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้า
   อุตสาหกรรมและบริการ

   แบ่งตามวิธีการขนส่ง คือสินค้าที่ต้องใช้บริการ
   การจัดส่งกับสินค้าที่ดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต


   สินค้า


   บริษัทพัฒนาสินค้าแล้วทดสอบการยอมรับจาก
   ผู้บริโภค

   ส่วนมากเป็นการผลิตตามความต้องการของลูก
   ค้าแต่ละราย มีความยืดหยุ่นสูง

   ราคา


   กำหนดโดยบริษัท


   ขึ้นอยู่กับสินค้าและบริการที่ลูกค้าเลือกดังนั้น
   ลูกค้าจึงเป็นผู้กำหนดราคา

   การจัดการการขาย



   ลูกค้าพิจารณาข้อมูลจากการนำเสนอของพนัก
   งานขายหรือสื่อโฆษณาอื่นๆ


   เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้
   ขาย ผู้ซื้อเป็นผู้เลือกข้อมูลตามความต้องการ
   ของตน

   ช่องทางการจัดจำหน่าย

   ขายผ่านคนกลาง หรือผ่านพนักงานขาย

   ขายตรงไปยังผู้ซื้อ

   การครอบคลุมเขตการขาย

   คลอบคลุมเป็นบางพื้นที่

   สามารถขายได้ทุกที่ทั่วโลก

   การสื่อสารการตลาด



   ใช้ทั้งกลยุทธุ์ผลัก ( push strategy ) และกลยุทธุ์
   ดึง ( pull strategy ) คือ โฆษณาทั้งคนกลางและ
   ผู้บริโภค

   ใช้กลยุทธุ์ดึง ( pull strategy ) คือโฆษณาโดย
   ตรงไปยังผู้บริโภค


หน่วยงานที่ถูกทดแทนจาการค้าบนเว็บไซต์

                   เนื่องจากการดำเนินงานธุรกิจบนเว็บไซต์เป็นการรวบรวมหน้าที่งานทางธุรกิจเกือบทั้งหมด ทำให้บริษัทไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานและอุปกรณ์
ต่างๆ ที่เคยมีในการค้าแบบดั้งเดิม


                                                        จากภาพจะเห็นว่ามีหน่วยงานและอุปกรณ์ 10 รายการที่ถูกการค้าบนเว็บไซต์เข้าแทนที่     


ประเภทของสินค้าและบริการ

                      สินค้าและบริการที่นำเสนอขายทางอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งประเภทตามการขนส่ง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
                                 1.  สินค้าที่จับต้องได้ ( Hard Goods )
                                 2.  สินค้าที่จับต้องไม่ได้ ( Soft Goods )
                                 3.  บริการ ( Service )

สินค้าที่จับต้องได้ ( Hard Goods )

                      เป็นสินค้าที่ผู้ขายต้องจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ถ้าผู้ขายขายสินค้าประเภทนี้จะต้องจัดหาบริษัทขนส่งสินค้า ศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขการจัดส่งของแต่
ละบริษัท อาทิเช่น การคำณวนค่าขนส่ง ประเภทของสินค้าที่รับขนส่ง ปริมาณการขนส่ง เป็นต้น เพราะบางบริษัทอาจไม่รับขนส่งสินค้าที่เน่าเสียหาย เช่น ดอกไม้
นอกจากนี้บริษัทยังต้องจัดการเกี่ยวกับโกดังสินค้าเพราะต้องสต๊อกสินค้าเอาไว้ เพื่อเตรียมขาย อเมซอน ร้านหนังสือบนเว็บรายใหญ่ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ได้นำ
เสนอจุดขายจุดหนึ่งคือ การจัดส่งที่รวดเร็ว ซึ่งทำให้บริษัทต้องสำรองหนังสือไว้ในคลังสินค้าเป็นจำนวนมาก การจัดส่งให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วเป็นจุดขายที่ดี
แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นจุดอ่อนในด้านค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องเสียไปในการจัดเก็บสินค้า

สินค้าที่จับต้องไม่ได้ ( Soft Goods)

                       เป็นสินค้าที่ผู้ขายไม่จำเป็นต้องจัดส่งให้ผู้ซื้อเพราะเป็นสินค้าที่ผู้ซื้อสามารถดึงหรือที่เรียกว่า ดาวน์โหลดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ขายมาเข้า
เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ซื้อ สินค้ากลุ่มนี้ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ข้อมูลประเภทต่างๆ และเพลง เป็นต้น การขายสินค้าประเภทนี้ใช้เงินลงทุนต่ำกว่า
ประเภทแรก เพราะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและงานได้หลายรายการ อาทิเช่น ค่าก่อสร้างหรือเช่าโกดังเก็บสินค้า เงินลงทุนในสินค้าคงคลัง และค่าใช้จ่ายใน
การจัดส่งสินค้า เป็นต้น แต่ผู้ขายสินค้าประเภทนี้จะต้องลงทุนในเทคโนโลยี ซึ่งบางครั้งจะต้องให้ผู้ซื้อดาวน์โหลดโปรแกรมบางโปรแกรมจึงจะสามารถใช้บริการ
ของผู้ขายได้

บริการ ( Service )

                       เป็นบริการที่ผู้ขายจัดขึ้นเพื่อให้บริการแก่ผู้เข้ามาเยี่ยมเว็บไซต์ โดยไม่ได้ขายสินค้าหรือบริการ บริการที่เสนออาจเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับ
อินเตอร์เน็ต เช่น บริการของอินเตอร์เน็ตเซอร์วิสโพรไวด์เดอร์ ( Internet service provider-ISP ) ซึ่งบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการกับเจ้าของร้านค้าหรือบุคคลทั่วไปใน
การจับจองเนื้อที่ของเว็บไซต์เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ หรือบางบริการอาจเป็นบริการที่ไม่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตเช่น เว็บไซต์ที่เป็นศูนย์รวมของข้อมูล
ข่าวสารที่เรียกว่า พอร์ทอล ไซต์ ( Portal site ) ซึ่งให้บริการในการค้นหาข้อมูลซึ่งเรียกว่า เสริซ์เอนจิ้น ( Search engine ) ผู้ต้องการข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลใดๆ
สามารถค้นหาได้โดยพิมพ์คำที่มีความหมายถึงประเภทของข้อมูลที่ต้องการ ก็จะได้ข้อมูลตามที่ต้องการ

                       อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะมีสินค้าและบริการครบทั้ง 3 ประเภท เพื่อเป็นการให้บริการลูกค้าครบวงจร

ขั้นตอนของการค้าแบบอิเล็กทรอนิคส์

                      ในการค้าแบบอิเล็กทรอนิคส์ประกอบด้วยขั้นตอน 10 ขั้นตอน เริ่มจากเจ้าของสินค้าเสนอขายสินค้าหรือบริการ จนกระทั่งลูกค้าซื้อสินค้าและผู้ขาย
รับเงิน ขั้นตอนของการค้าแบบอิเล็กทรอนิคส์แสดงได้ดังนี้



                       จากภาพ จะเห็นว่าขบวนการจะเป็นดังนี้
                       ขั้นตอนที่
     ผู้ขายจัดหาสินค้าแล้วเสนอขายต่อผู้บริโภคทางอินเตอร์เน็ต  
                       ขั้นตอนที่
2      ผู้บริโภคใช้อินเตอร์เน็ตเห็นข้อมูลของสินค้า
                       ขั้นตอนที่
3      เมื่อผู้บริโภคเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ แล้ว ตกลงตัดสินใจซื้อจากผู้ขาย
                       ขั้นตอนที่
4      เมื่อผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าโดยผ่านบัตรเครดิตหรือบริการอื่นของธนาคาร เช่นเช็ค ส่วนใหญ่จะเป็นการตัดบัญชีผ่านบัตรเครดิต
                       ขั้นตอนที่
     เมื่อธนาคารตรวจสอบเครดิตของผู้ซื้อแล้วก็จะส่งข้อมูลเข้ามาในอินเตอร์เน็ต
                       ขั้นตอนที่
6      ผู้ขายได้รับทราบข้อมูลจากธนาคารก็จัดเตรียมสินค้าตามที่ผู้ซื้อต้องการ
                       ขั้นตอนที่
     ผู้ขายทำการเลือกบริษัทขนส่ง แล้วเตรียมสินค้าให้พร้อมสำหรับการขนส่ง แล้วส่งไปบริษัทขนส่ง หรือบริษัทขนส่งมารับสินค้า
                                               แล้วแต่กรณี
                       ขั้นตอนที่
8      บริษัทขนส่งจัดส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อพร้อมเก็บค่าธรรมเนียม / ภาษีแล้วแต่กรณี
                       ขั้นตอนที่
     ผู้ซื้อจ่ายเงินโดยธนาคารหักบัญชีของผู้ซื้อ
                       ขั้นตอนที่
10    ธนาคารจ่ายเงินให้ผู้ขาย   

เครื่องมือหลักๆ ในการทำตลาดอิเล็กทรอนิคส์
        1. เวิลด์ ไวด์ เว็บ ( www ) คือ การจัดทำเว็บไซต์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดเช่น เพื่อขายสินค้า เพื่อประชาสัมพันธ์บริษัท
        2. อีเมล์ ( E-mail )  หรือจดหมายอิเล็กทรอนิคส์ ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังลูกค้า หรือบุคคลที่ตัดปะด้วย
        3. เมล์ลิ่งลิสต์ ( Mailing list ) คือ กลุ่มของบุคคลที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ซึ่งในด้านการตลาดถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญมาก เพราะเป็นกลุ่มเป้าหมาย
                                                  ทางการตลาด เนื่องจากแต่ละกลุ่มประกอบด้วยคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน
        4. เว็บบอร์ด ( Web board ) คือ กระดานข่าวที่ให้ผู้คนเข้ามาเสนอแนวความคิดหรือพูดคุยกัน ในด้านการตลาดสามารถใช้เว็บบอร์ดเป็นที่สร้างกระแสได้ ซึ่ง
                                                  จะทำให้ผู้คนรู้จักหรือทราบในเรื่องที่เราต้องการสื่อสารซึ่งถือเป็นสื่อ ( Medium ) ชนิดหนึ่งในการประชาสัมพันธ์

ประเภทของการค้าบนอินเตอร์เน็ต
        ผู้ประกอบการอินเตอร์เน็ตมีกลุ่มเป้าหมายอยู่หลักๆ อยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นธุรกิจ และกลุ่มที่เป็นผู้บริโภค ลักษณะและกลยุทธ์การตลาดหลักๆ เป็นดังนี้

       
1. ธุรกิจกับธุกิจ ( Business to business หรือ B to B ) เป็นการติดต่อธุรกิจระหว่างบริษัทกับบริษัท เช่นบริษัทผู้ผลิตรองเท้าในประเทศไทยกับ
             บริษัทตัวแทนจำหน่าย ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะสั่งซื้อรองเท้าเพื่อไปขายต่อผู้ค้าปลีกหรือผู้บริโภค กรณีนี้ผู้ซื้อมักจะเป็นผู้กำหนดรูปแบบของ
             รองเท้าให้ผู้ผลิตในประเทศผลิต เช่นเดียวกับการตลาดแบบดั้งเดิม ลักษณะหลักๆ ของตลาดธุรกิจมีดังนี้
             -  มีจำนวนผู้ซื้อและรายการคำสั่งซื้อน้อยราย
             -  แต่ละคำสั่งซื้อมีปริมาณสินค้าเป็นจำนวนมาก
             -  การจัดส่งสินค้าเป็นปริมาณมากต้องใช้บริษัทจัดส่งที่มีความชำนาญ
             -  ราคาจะเป็นราคาขายส่งเพื่อให้ผู้ซื้อทางธุรกิจสามารถตั้งราคาขายปลีกให้แข่งขันได้

กลยุทธ์การตลาดหลักๆมีดังนี้
        1.  ให้ข้อมูลแก่ลูกค้ามากที่สุด เพราะผู้ซื้อทางธุรกิจต้องการละเอียดมากเช่น ผู้ผลิตผลิตรองเท้าได้กี่แบบ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนการผลิต ประเภท
             ของวัสดุที่ใช้ผลิต ขนาด ราคาตามปริมาณการสั่งซื้อ การขนส่ง ธนาคารที่ติดต่อ ค่าธรรมเนียม และภาษีอากรของแต่ละประเทศ และบริการอื่นๆ
             ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ผู้ซื้อทางธุรกิจต้องนำมาเปรียบเทียบกับผู้ผลิตรายอื่น แล้วนำมาคำนวณหาผลประโยชน์ที่เขาจะได้รับ

        2.  ผู้ขายใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยปรกติผู้ซื้อทางธุรกิจมักได้รับอนุญาตให้รหัสผ่านเพื่อเข้าไปดูข้อมูลทางการค้าใน
             ระดับที่ลึกกว่าลูกค้าทั่วไป

        3.  ทำวิจัยตลาดบนเว็บไซต์ เพื่อทราบความต้องการของลูกค้า และเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการตลาดต่อไป

        4.  ใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันที่เรียกว่า " Electronic data interchange หรือ EDI " ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อสื่อสาร
             กันได้อย่างรวดเร็ว  เช่นระบบสต็อกสินค้า เมื่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นผู้ซื้อคนสุดท้าย ซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้า และทำให้จำนวนสินค้าคงเหลือในคลังสินค้า
             ของห้างสรรพสินค้าถึงจุดที่ต้องสั่งซื้อใหม่ ข้อมูลนี้จะถูกส่งจากห้างสรรพสินค้าไปยังบริษัทผู้ขาย ทำให้บริษัทผู้ขายได้ข้อมูลการสั่งซื้ออย่างรวดเร็วและส่ง
             สินค้าได้ทันเวลา ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้ผลประโยชน์เต็มที่จากการดำเนินธุรกิจ

       
2. ธุรกิจกับผู้บริโภค ( Business to consumer หรือ B to C ) เป็นการติดต่อธุรกิจระหว่างผู้ผลิตหรือผู้ขายกับผู้ซื้อที่เป็นผู้บริโภคคนสุดท้าย 
             ( Consumer ) ซึ่งซื้อเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผู้ซื้อในประเทศไทย สั่งซื้อหนังสือจาก www.amazon.com 

ลักษณะหลักๆ ของตลาดผู้บริโภคมีดังนี้
        -  มีจำนวนผู้ซื้อหรือผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์มากราย
        -  แต่ละคำสั่งซื้อมีปริมาณน้อย
        -  เสนอขายสินค้าให้ผู้ซื้อแต่ละรายตามความต้องการของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน
        -  ผู้ซื้อนำสินค้าไปใช้ในการอุปโภคหรือบริโภคมิได้นำไปขายต่อ

กลยุทธ์การตลาดที่สำคัญ
      1. การกำหนดตลาดเป้าหมาย
และการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ ( Targeting and positioning ) ต้องสอดคล้องกัน เช่น www.nike.com
             สร้างขึ้นมาเพื่อกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักกีฬา ตำแหน่งผลิตภัณฑ์จึงเป็นศูนย์รวมของเครื่องกีฬา

       
2. การตั้งชื่อ ( Branding ) การตั้งชื่อในการตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์จะต้องคำนึงถึงความง่ายถึงการค้นหาของผู้ซื้อเป็นหลัก ดังนั้นการตั้งชื่อจะต้องบ่ง
             บอกสินค้า และต้องใช้คำศัพท์ที่เป็นสากล
    
       
3. ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ( Interactivity ) คือต้องสามารถสื่อสาร 2 ทาง ผู้ขายและผู้ซื้อต้องสามารถโต้ตอบกันได้ และต้องรวดเร็ว

       
4. ข้อมูลของสินค้า ( Product information ) เป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะการขายบนเว็บจะต้องทำเว็บให้ทำหน้าที่เหมือนโชว์รูมพนักงาน และพนักงาน
             บริการ ไม่มีพนักงานขายคอยแนะนำสินค้าไม่มีแค็ตตาล๊อกสินค้าให้อ่านและไม่มีคนเชียร์ให้ซื้อสินค้า ดังนั้น " ข้อมูล " จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการตัด
             สินใจซื้อของลูกค้า

       
5. การแนะนำสินค้า ( Product recommendation ) เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญกลยุทธ์หนึ่ง เพื่อช่วยเร่งเร้าการตัดสินใจซื้อของลูกค้าให้เร็วขึ้น เพราะบนเว็บ
             ไม่มีพนักงานทำหน้าที่ปิดการขาย www.clinique.com ซึ่งเสนอขายเครื่องสำอางค์คลีนิกจะทำการวิจัยลักษณะผิวพรรณของลูกค้าก่อน โดยให้ลูกค้ากรอก
             ข้อมูลส่วนตัว แล้วสรุปประเภทของผิวของลูกค้า และเมื่อลูกค้าต้องการสินค้าประเภทใด ก็จะแนะนำสินค้าให้ตรงกับลักษณะผิวของลูกค้า

       
6. สร้างจุดเด่นให้กับเว็บไซต์ ( web site differentiation )  เนื่องจากเว็บไซต์มีอยู่เกือบ 10 ล้านเว็บ ดังนั้นการสร้างความแตกต่างจึงเป็นกลยุทธ์
            หนึ่งที่สำคัญ www.rotten.com เป็นเว็บที่รวบรวมสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัว ก็สามารถสร้างความฮือฮาและเรียกร้องความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายที่ชอบเรื่อง
            ราวเหล่านี้

        7. เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า ( Enchancing to product ) ด้วยการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง หาบริการใหม่ๆ นำเสนอแก่ลูกค้า
 
        8. พยายามกระตุ้นให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บมาซ้ำบ่อยๆ ( Encouraging repeated visits ) กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ เพราะการที่มีผู้มาเยี่ยมชม
             บ่อย เปรียบเสมือนร้านค้าหรือธุรกิจที่มีผู้คนพลุกพล่าน ซึ่งทำให้โอกาสในการขายสินค้าและบริการสูงตามไปด้วย และนอกจากนี้การที่มีผู้เข้าเยี่ยมชม
             ทำให้เจ้าของเว็บสามารถกำหนดราคาค่าโฆษณาได้สูง เว็บที่มีคนมาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมากส่วนใหญ่จะเป็นเว็บที่เป็นศูนย์รวมข้อมูล ( Portal web site )
             อาทิ เช่น www.aol.com , www.yahoo.com และเว็บอื่นๆ อีกมากมาย การให้เข้ามาเยี่ยมชมซ้ำทำได้หลากหลายวิธี เช่น www.garfield.com มีรูปการ์ตูน
             การ์ฟิลด์ให้พิมพ์เพื่อฝึกหัดระบายสี โดยเปลี่ยนรูปทุก 2 สัปดาห์ www.mcdang.com  ซึ่งเป็นเว็บของรายการโทรทัศน์ที่มีเรตติ้งสูง ดำเนินรายการโดย
             มล.ศิริเฉลิม สวัสดิวัฒน์ หรือรู้จักกันในนาม " หมึกแดง " จะมีรายการอาหารที่คุณหมึกแดงนำเสนอในรายการโทรทัศน์ซึ่งมีอยู่หลายสถานีในหนึ่งสัปดาห์
             และทุกสัปดาห์ผู้สนใจจะต้องเข้ามาเยี่ยมชมเพื่อพิมพ์รายการอาหาร ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมและวิธีการปรุง

        9. สร้างเว็บให้เป็นแหล่งชุมชน ( Building community ) กลยุทธ์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ สร้างเว็บให้เป็นศูนย์รวมของผู้คนเพื่อให้มีผู้เข้าเยี่ยมชม
             อยู่ตลอดเวลาและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ www.pantip.com  เป็นเว็บที่แบ่งชุมชนตามความสนใจในเว็บบอร์ด ( เป็นกระดานข่าวที่ให้ผู้คนเข้าไปเสนอ
             ความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ) เช่น กลุ่มรัชดา เป็นชุมชนของคนที่สนใจในเรื่องรถยนต์ เครื่องเสียง และโทรศัพท์มือถือใครมีคำถามเรื่องเหล่านี้
             ก็สามารถเขียนเข้าไปถามได้ และสมาชิกผู้รู้จะเขียนเข้ามาตอบ การที่แต่ละกลุ่มมีสมาชิกสนใจในเรื่องเดียวกัน ในด้านการตลาดจัดว่าเป็นการแบ่งส่วน
             ตลาดมที่มีประสิทธิภาพมาก สมาชิกของแต่ละกลุ่มจะเข้าไปอ่านข้อมูลในกระดานข่าวอย่างสม่ำเสมอ นับเป็นการสร้างความซื่อสัตย์ต่อตรายี่ห้อ ( Brand
             loyalty ) ที่ดี
   
      10. ตอบสนองความพึงพอใจลูกค้าให้มากที่สุด ( Customizing ) กลยุทธ์นี้อยู่ภายใต้แนวคิดว่าสินค้าหรือบริการบนเว็บไม่ใช่สินค้าทั่วไปที่วางขายอยู่
             ตามท้องตลาด บริษัทท่องเที่ยวที่ขายบริการท่องเที่ยวผ่านเว็บจะต้องระลึกถึงการทำให้ลูกค้าสนุกกับโปรแกรมตลอดเวลา ดังนั้นจึงควรสอบถามความต้อง
             การของลูกค้า เช่น สถานที่ อาหาร กิจกรรม ที่พัก และพาหนะเดินทางที่ลูกค้าชอบ แล้วจึงจัดรายการตามนั้น ซึ่งจะทำให้ลูกค้าพอใจสูงสุด และเป็นการ
             หลีกเลี่ยงการตัดราคาด้วย www.newsingapore.com ใช้กลยุทธ์นี้

      11. การส่งเสริมการขาย ( Sales promotion ) เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ต้องพิจารณา อาจทำได้หลายรูปแบบเช่น การแจกตัวอย่างสินค้า ( Sampling ) ซึ่ง
             บริษัทขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์นิยมนำมาใช้ การแจกคูปอง ลดราคาโรงภาพยนตร์อีจีวี มักจะให้ผู้เข้ามาที่เว็บพิมพ์คูปองส่วนลดราคาเพื่อใช้ในการ
             ซื้อบัตรชมภาพยนตร์ www.alladvantage.com  ส่งเสริมการขายด้วยวิธีแจกเงินแก่ผู้เข้ามาในเว็บไซต์  ถ้าใช้เวลานานก็จะได้เงินมาก และถ้าแนะนำ
             ผู้อื่นก็จะได้เงินค่าแนะนำด้วย เมื่อผู้ถูกแนะนำท่องเว็บนี้ กลยุทธ์คล้ายกับกลยุทธ์การขายตรงแบบหลายชั้น ( Multi level marketing )

      12. การตลาดเชิงกิจกรรม ( Event marketing ) การตลาดเชิงกิจกรรมมักเป็นที่สนใจของผู้คนและมักจะบอกต่อๆ กันไป ( word of mouth marketing )   
             ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว www.ourfirstime.com ที่เคยฮือฮาด้วยการแถลงข่าวจะจัดให้มีการถ่ายทอดสดกิจกรรมทางเพศของชายหญิง
             คู่หนึ่ง เคยสร้างความเกียวกราวมาแล้ว ผู้คนจดจำได้นานทางด้านการตลาดถือว่าประสบความสำเร็จในการสร้างความรู้จักเว็บ ( Brand awareness ) แต่
             จะได้ทัศนะคติที่ดีต่อเว็บหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสังคมในแต่ละประเทศ อีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งนิยมใช้กันเพราะทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างรวดเร็วคือมีเกมให้เล่น
             www.madoo.com, www.catcha.co.th และอีกหลายๆ เว็บ ดังได้เพราะมีเกมทายที่ผิดของภาพเหมือน ( Photo hunt ) ให้ผู้คนเข้ามาร่วมกิจกรรม

      13. ใช้อีเมล์เป็นเครื่องมือในระบบการจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ ( CRM : Customer relationship management ) เมื่อบริษัทมีข่าวสารหรือ
             โปรแกรมส่งเสริมการขายเฉพาะตัว สามารถใช้อีเมล์เป็นเครื่องมือ เพราะเป็นการตลาดทางตรง ซึ่งลูกค้ารายอื่นไม่จำเป็นต้องทราบ
   
      14. สิ่งจูงใจอื่นๆ ( Other incentives ) นอกจากกลยุทธ์ดังกล่าวแล้ว กลยุทธ์ที่นิยมใช้กันเพื่อจูงใจให้ผู้คนมาที่เว็บคือห้องสนทนา ( Chat ) อิเล็กทรอนิกส์
             โปสการ์ด,รายงานอากาศ,แผนที่เดินทางและข้อมูลอื่นๆ 
    
      15. ต่อเชื่อมกับเว็บอื่น ( Web linking ) ที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งจะทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่ต้องเสียเวลาในการเปิดเว็บใหม่ เป็นการทำเว็บให้เป็น
             ศูนย์รวมคล้ายๆ กับห้างสรรพสินค้าที่นำกลยุทธ์ " One - Stop - shopping " มาใช้

      16. โฆษณาประชาสัมพันธ์ในเว็บที่เป็นที่นิยม เช่น www.yahoo.com เพราะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมาก

       17. ส่งเสริมการขายนอกเว็บ ( Offine promotion ) การที่จะทำเว็บให้เป็นที่รู้จัก ต้องสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร ( Integrated marketing 
              communication ) คือใช้สื่ออื่นๆ นอกเว็บด้วย เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ

ประโยชน์ของการตลาดอิเล็กทรอนิคส์
              การตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อและผู้ขายทำให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนที่ต่ำ ข้อดีของการตลาดแบบนี้พอสรุปได้ดังนี้

     สำหรับผู้ประกอบการ   

     1. ประหยัดเงิน
เพราะเอกสารประกอบการขายเช่นแค็ตตาล็อค โบว์ชัวร์ และเอกสารประกอบการขายอื่นๆ ไม่ต้องพิมพ์ในกระดาษทำให้ผลิตเอกสารได้
            รวดเร็ว สวยงาม นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนเอกสารเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องพิมพ์ใหม่ การจัดส่งก็ทำได้รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง
            เอกสาร เหตุผลเหล่านี้ทำให้ต้นทุนในการสื่อสารต่ำลง 
 

     2. ประหยัดเวลาและลดขั้นตอนทางการตลาด
เนื่องจากไม่ต้องใช้เวลาในการผลิตสื่อทั้งทางด้านการประสานงานกับบริษัทโฆษณาและการผลิตเอกสาร
            ลดขั้นตอนการใช้พนักงานในการเข้าพบลูกค้า ผู้ประกอบการสามารถเสนอข้อมูลให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง และเมื่อลูกค้าต้องการข้อมูลเพิ่ม
            เติมหรือเฉพาะเจาะจงผู้ประกอบการก็สามารถจัดทำได้อย่างรวดเร็วและตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

      
3. ผู้ขายสามารถกำหนดขบวนการซื้อได้ เพราะการขายบนเว็บผู้ขายสามารถจัดขั้นตอนการจัดซื้อให้ลูกค้าดำเนินตามขั้นตอนที่กำหนดด้วยการอำนวย
            ความสะดวกในเรื่องของแบบฟอร์มและการกรอก เพียงลูกค้าคลิ๊กเม้าท์เท่านั้น ขบวนการในการซื้อก็จบลง ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
            ได้อย่างรวดเร็ว และตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

      
4. ผู้ขายสามารถให้ข้อมูลแก่ลูกค้าได้มากเท่าที่ลูกค้าต้องการและข้อมูลจะเป็นมาตรฐาน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับการตลาดแบบดังเดิมที่ใช้พนักงานเป็น
            ผู้ให้ข้อมูล มาตรฐานของข้อมูลจะขึ้นอยู่กับความเหนื่อยและอารมณ์ของพนักงาน
 
      
5. ตลาดกว้างใหญ่ไพศาล เพราะสามารถขายให้กับลูกค้าทั่วโลก ดังนั้นระยะทางและเวลาจะไม่เป็นอุปสรรคสำหรับการขาย

      
6. กำจัดอุปสรรคในการขายสินค้าในบางประเทศเพราะสามารถขายให้กับทุกคนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ กฎ ระเบียบ และข้อจำกัดต่างๆ ทางการค้า
            ซึ่งเคยเป็นอุปสรรคในการตลาดแบบดั้งเดิมจะไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่ซื้อขายด้วยวิธีดาวน์โหลด
  
      
7. สามารถขายและสื่อสารได้ตลอดเวลาด้วยมาตรฐานเดียวกันตลอด 365 วัน และ 24 ชั่วโมง ซึ่งทำให้สามารถขายได้ตลอดเวลา   
 
     8. การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ทำได้กว้างขวาง
เพราะสามารถเชื่อมโยงกับเว็บต่างๆ ได้ ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลจากเว็บอื่นได้ ทำให้เข้าถึงผู้ซื้อ
           ได้มาก 
    
      
9. ข้อมูลจากผู้ซื้อทำให้นักการตลาดปรับแผนและกลยุทธ์การตลาดได้อย่างรวดเร็ว ข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นของผู้ซื้อ จะเป็นประโยชน์ในการ
            ปรับปรุงสินค้า ราคา เงื่อนไขและกลยุทธ์การตลาดต่างๆ ได้
  
     
10. ผู้ประกอบการสามารถสืบหาข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดของคู่แข่งขันได้โดยการเข้าไปในเว็บของคู่แข่งก็จะทราบกลยุทธ์การตลาด ทำให้
             สามารถปรับการตลาดได้อย่างรวดเร็ว

    ข้อดีสำหรับลูกค้า   

        1. ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าและบริการได้ทั่วโลกทำให้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด

      
2. ผู้ซื้อจ่ายเงินซื้อสินค้าน้อยลง เพราะผู้ขายไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางด้านคนกลาง นอกจากนี้ผู้ขายมักจะขายในราคาใกล้เคียงกับคู่แข่งขันเพราะผู้ซื้อ
           สามารถเปรียบเทียบราคาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

      
3. ผู้ซื้อประหยัดเวลาในการเลือกซื้อ เพราะสามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและใกล้เคียงกับความเป็นจริงในการตลาดแบบดั้งเดิมผู้ซื้อต้องเดินทาง
            หลายแห่ง หรือต้องเดินทางออกจากบ้านเพื่อไปยังสถานที่ขายสินค้า แม้ว่าถึงสถานที่ขายก็อาจมีสินค้าให้เปรียบเทียบได้ไม่ครบ แต่การเลือกซื้อบนเว็บ
            สามารถเปรียบเทียบสินค้าได้ครบและด้วยเทคโนโลยีสามารถทำให้สินค้าใกล้เคียงความความจริงมากที่สุด www.folksvagen.com  เป็นเว็บที่ลุกค้าที่
           เข้าไปดูสามารถเห็นรถยนต์ได้ทุกมุม แม้ทระทั่งภายในรถยนต์

คุณสมบัติของนักการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่ประสบความสำเร็จ
         นักการตลาดที่ทำการค้าบนอินเตอร์เน็ต จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

       
1. มีความคิดสร้างสรรค์  เหมือนการตลาดทั่วไปที่นักการตลาดต้องตกแต่งหน้าร้านให้สามารถดึงดูดหรือเรียกร้องความสนใจ นักการตลาดจะต้องปรับเว็บ
             ให้เป็นที่น่าสนใจตลอดเวลา เพราะถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ลูกค้าเบื่อและเลิกสนใจเว็บ

       
2. เป็นผู้รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง จะต้องเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง และรู้วิธีจูงใจลูกค้าให้เยี่ยมชมเว็บอย่างสม่ำเสมอ

       
3. เป็นผู้ไวต่อการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการตลาดบนเว็บเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ลูกค้าจะสามารถติดต่อกับผู้ขายได้ตลอดเวลา เช่นถามข้อมูลเกี่ยวกับ
             สินค้าหรือบริการ นักการตลาดจะต้องตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

       
4. เป็นนักประสานสิบทิศ การที่จะบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องบริษัทต้องมีความพร้อมตลอดเวลาซึ่งนักการตลาดจะต้องทำงานร่วมกันกับลูกค้า
             เจ้าของสินค้า ฝ่ายผลิตบริษัทจัดส่ง และธุรกิจอื่นๆ ดังนั้นเขาจะต้องมีความสามารถประสานหน่วยงานหรือบบุคคลต่างๆ เหล่านี้ให้พร้อมในการบริการ

       
5. มีความเป็นมืออาชีพ ทำงานทุกอย่างด้วยประสิทธิภาพสูง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

       
6. เป็นผู้มีความกระตือรือร้น ต้องติดตามรายละเอียดของงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ จึงต้องเป็นผู้มีพลังใจในการทำงานสูงมาก

       
7. มีวิสัยทัศน์ ต้องเป็นผู้คาดการณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำ เพราะการตลาดนั้น เว็บมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ในด้านลูกค้าซึ่งมีปริมาณเพิ่มมาก
            ขึ้นอย่างรวดเร็ว คู่แข่งขันซึ่งปรับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นนักการตลาดบนเว็บจะต้องเป็นผู้ที่ไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง 
            และติดตาม 

สาเหตุที่การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ไม่ประสบความสำเร็จ
        แม้ว่าจะมีผู้ประกอบการใช้เว็บไซต์เป็นเครื่องมือทางการค้าเพิ่มขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว จำนวนผู้ประสบความสำเร็จกลับมีเป็นจำนวนน้อย เหล่านี้คือ
สาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกิจออนไลน์ไม่ประสบความสำเร็จ

       
1. ใช้สิ่งออนไลน์สิ่งเดียวในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย เช่นใช้โฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ในเว็บของตนเอง และผ่านเว็บอื่นเท่านั้น ซึ่งเป็นการ
            สื่อสารเฉพาะกลุ่มที่รู้จักอินเตอร์เน็ตเท่านั้น การที่ไม่ใช่สิ่งอื่นนอกจากอินเตอร์เน็ต ( Offline communication ) และเข้าใจไปยังลูกค้ากลุ่มใหม่ไม่ได้

       
2. ไม่ใช้เว็บไซต์อย่างแท้จริง บางธุรกิจเปิดเว็บไซต์ตามแฟชั่น ตัวอย่างที่ดีคือ Toys " R " Us ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกของเล่นที่ใหญ่ที่สุด และเป็นที่รู้จัก
            กันมากที่สุด ในระบบค้าปลีก แต่ในระบบอีคอมเมิร์สกลับพ่ายแพ้อย่างไม่เป็นท่าเมื่อเปรียบเทียบกับ E-toys เพราะในตอนเริ่มต้น บริษัทเปิดเว็บไซต์
            โดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้เป็นแคตตาล็อกออนไลน์เท่านั้น จึงจัดสรรงบประมาณและบุคลากรจำนวนน้อยมาก ซึ่งผิดกับ E-toys ซึ่งเอาจริงเอาจังใน
            เรื่องนี้

      
3. ดำเนินงานโดยขาดความเป็นมืออาชีพ บุคลากรด้านต่างๆ ไม่สันทัดงานด้านอีคอมเมิร์ส  ขณะเดียวกันต้องรับผิดชอบงานในระบบการค้าแบบดั้งเดิม
           ด้วย ทำให้ขาดทักษะและความชำนาญ

      
4. ไม่ปรับหรือปรับกลยุทธ์ช้าเกินไป การตลาดในระบบอีคอมเมิร์สจะต้องเป็นกลยุทธ์การตลาดเชิงรุก เพราะการแข่งขันและเทคโนโลยีที่จะสนับสนุน
           กลยุทธ์การตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้กลยุทธ์การตลาดบนเว็บล้าสมัยเร็วมาก ถ้าไม่หมั่นตรวจสอบประสิทธิผลของกลยุทธ์ อาจทำให้กลยุทธ์
           เดิมล้าสมัย และสูญเสียลูกค้าในที่สุด

      
5. หลงกับเทคโนโลยีจนลืมความสำคัญของตลาด มักจะเป็นที่เข้าใจผิดว่าการสร้างเว็บจะต้องเพรียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีด้วยภาพเคลื่อนไหว เสียง และ
           เทคนิคต่างๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้เข้ามาเยี่ยมชม เว็บที่มากด้วยเทคโนโลยีทำให้การเข้าเยี่ยมชมใช้เวลานานมาก ในการที่จะเรียกแต่ละหน้า
           มาดู จึงเป็นสาเหตุให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปเว็บอื่น เช่นเดียวกับรายการทีวีหรือโฆษณาทางทีวีที่ไม่น่าสนใจ ผู้ชมมักจะกดรีโมทคอนโทรลเพื่อเปลี่ยนช่องไป
           ดูรายการที่ช่องอื่น นอกจากนี้ต้องไม่ลืมว่า ข้อมูลเป็นสิ่งที่ลูกค้าสนใจมากกว่าเทคโนโลยี

      
6. ใช้การตลาดแบบเหวี่ยงแห ( Mass marketing ) แทนที่จะใช้การตลาดแบบเฉพาะกลุ่ม ( Segment หรือ niche marketing ) หลายบริษัทเมื่อเปิดเว็บไซต์
            ขึ้นมามักจะเริ่มต้นด้วยความพยายามที่จะทำให้จำนวนผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมให้มากที่สุด จึงบรรลุทุกสิ่งทุกอย่างในเว็บของตน จนทำให้ไม่มีกลุ่มเป้าหมาย
            ที่แน่ชัด ดังนั้นจึงควรที่จะเลือกกลุ่มเป้าหมายให้แน่ชัด แล้วนำเสนอสินค้าหรือบริการในแนวลึก ซึ่งตรงตามหลักการตลาดเฉพาะกลุ่ม ตัวอย่างเช่น
            www.timezone.com  เสนอขายเฉพาะข้อมูลระดับหรู เพื่อขายกลุ่มเป้าหมายระดับสูง ซึ่งเป็นเว็บหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในยอดขาย แม้ว่าจะมีผู้เยี่ยม
            ไม่มาก แต่ทุกคนที่เข้ามาคือ กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงทางการตลาด

       
7. อัดแน่นด้วยข้อมูล แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่จำเป็นสำหรับลูกค้า เป็นข้อมูลที่ไม่ทำกำไรหรือก่อให้เกิดผลประโยชน์ใดๆ ต่อบริษัท ซ้ำยังทำให้เกิดต้นทุน
            บางเว็บบรรจุผังองค์กร ( Organization Chat ) และรายละเอียดทุกอย่างของบริษัท ราวกับว่ากำลังทำรายงานประจำปีหรือโบร์ชัวร์ของบริษัท


   บทสรุป         

                รูปแบบการค้าได้ถูกปฏิวัติมาจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การตลาดซึ่งเป็นหน้าที่หนึ่งของธุรกิจย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย นักการตลาด
ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของกลยุทธ์การตลาดแบบดั้งเดิมและกลยุทธ์การตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์ และในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงจะต้องสามารถผสม
ผสานทั้ง 2 กลยุทธ์ให้สอดคล้องกัน และจะต้องเฝ้าติดตามและประเมินผลของกลยุทธ์อย่างไกล้ชิด เพราะบทเรียนที่เป็นประสบการณ์ทางการตลาดยังมีให้ศึกษาไม่
มากนัก เนื่องจากเป็นยุคเริ่มต้นของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์แบบจริงจัง ดังนั้น ประสบการณ์จาการลองผิดลองถูกจึงเป็นสิ่งมีค่ามากก็ต่อเมื่อนักการตลาดเรียนรู้
ได้เร็ว
               สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เริ่มต้นนำอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด ต้องรีบปรับตัวเพราะมูลค่าของการซื้อขายกันทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรายงาน
จาก www.cyberatlas.com เมื่อปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ.2000 มีมูลค่าประมาณ 327 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเท่ากับ 5% ของการซื้อขายกันทั้งโลก และคาดว่าจะมี
ประชาชนชาวเน็ต ( Netizen ) ถึง 300 ล้านคนในปี ค.ศ.2001 และมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยอัตราที่รวดเร็ว ตัวเลขและแนวโน้มเหล่านี้นับเป็นตัวเลข
ที่มีความหมายมากในเชิงการตลาด

              การตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์จะประสบผลสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายประการ เช่น ความพร้อมทางเทคโนโลยี นโยบายของรัฐบาล ความปลอดภัย
จากระบบการชำระเงิน การขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ และการยอมรับของบุคคลในองค์กร ดังนั้น การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด นักการตลาดจำเป็นต้องคำนึง
ถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ด้วย



               การนำเทคโนโลยี อี-คอมเมิร์ซ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจมีมานานนับสิบปีแล้ว แต่ส่วนใหญ่จะใช้กันอยู่ในบริษัทใหญ่ๆในต่างประเทศ ซึ่งจะเป็น
ไปในระบบ อี- คอมเมิร์ซ แบบปิดที่ใช้เฉพาะภายในเครื่อข่ายของบริษัทเหล่านั้นเอง นับจากการใช้ระบบ EDI ( Electronic data interchang ) เป็นสื่อใน
การทำ อี- คอมเมิร์ซ และปัจจุบันได้พัฒนามาใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อแทนระบบ EDI บริษัทเหล่านี้ได้เล็งเห็นถึงความมีประสิทธิภาพในการทำงาน มีต้นทุน
ในการดำเนินงานที่เหมาะสม และช่วยให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท โบอิ้ง ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมการบิน ,ห้างเทสโก้
ร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ ฃึ่งบริษัททั้งสองแห่งดังกล่าวได้นำเอา อี-คอมเมิร์ซ มาประยูกต์ใช้  สำหรับอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าของตนและพัฒนา
ปรับปรุงการบริหารกระบวนการของห่วงโซ่อุปทาน (supply chain management) ของตน ให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้สูงสุด
                
             อี-คอมเมิร์ซ ทั้งในรูปแบบ B2C และB2B ในประเทศไทยยังเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น และยังก้าวหน้าไปไม่มากนัก เนื่องจากทั้งผู้ประกอบการและ
ภาครัฐของไทยยังขาดความรู้และความเข้าใจอย่างถ้องแท้ ในเรื่องนี้ ส่งผลให้ขาดทิศทางที่ถูกต้องในการก้าวเดิน และขาดการลงทุนอย่างแหมาะสมเพื่อที่จะ
พัฒนาระบบ อี-คอมเมิร์ฃให้สามารถช่วยในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยแห่วความสำเร็จของการนำระบบ อี-คอมเมิร์ซ ไปใช้ในการดำเนิน
ธุรกิจการค้าสำหรับผู้ประกอบการไทยมีดังนี้

           1. วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร  ผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์ ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการนำเอาเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและ
อี-คอมเมิร์ซ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำงานขององค์กร ต้องมีการศึกษาให้เข้าใจในรู้แบบของ อี-ดอมเมิร์ซ ทั้ง B2C 
และB2B อย่างชัดเจน ว่าจะนำมาช่วยในเรื่องการบริการลูกค้าและในกระบวนการบริหารห่วงโซ่อุปทาน (supply chain
management )  ได้อย่างไรบ้าง  มีความเข้าใจถึงประเภทหรือหน้าที่การทำงานของเว็ปไฃต์ ที่มีหน้าที่ในการโฆษณา
ประชาสัมพันธ์บริษัทและสินค้าหรือบริการของบริษัทเว็ปไฃต์ที่มีหน้าที่ในการช่วยค้นหาเรื่องต่างๆ ที่ต้องการ(ที่เรียกว่า
search engine web site เช่น www.yahoo.com เป็นต้น) ในบ้างครั้งในการที่แต่ละองค์กรมีเว็ปไฃต์เป็นของตนเอง
ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้นำเอาระบบอี-คอมเมิร์ซ์เข้าไปไช้ในการดำเนินงานแล้วแท้จริงอาจเป็นเพียงเว็ปไฃต์ที่ช่วย
ในการโฆษณาเท่านั้นเอง ผู้บริหารต้องอย่ามองอี-คอมเมิร์ซเป็นเรื่องของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะทำให้เกิด
ความกลัวที่จะใช้เทคโนโลยี ทั้งอินเตอร์เน็ตและอี-คอมเมิร์ซ และที่สำคัญผู้บริหารจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจากเดิมที่
เพียงแต่รอดูว่าใครจะสามารถทำได้จนสำเร็จแล้วค่อยเดินตาม แต่ในโลกการค้ายุคใหม่ ผุ้บริหารจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์
เชิงรุกที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าก่อน แทนการรอดูเหมือนแต่เดิม

           2.กระบวนการและวิธีการทำงาน ผู้บริหารจะต้องแจ้งหรืออธิบายให้พนักงานในองค์กรรับทราบอย่างชัดเจนว่ากระบวนการและวิธีการทำงานใดบ้าง
ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นระหว่างแผนกต่างๆ ภายในองค์กรเอง ระหว่างองค์กรกับฃัพพลายเออร์ขององค์กรหรือระหว่างองค์กรกับลูกค้าขององค์กร
รวมทั้งจะเริ่มต้นอย่างไร เริ่มต้มได้เมื่อไรเป็นต้น

           3. พนักงานและองค์กร ผู้บริหารต้องทำความเข้าใจกับพนักงานขององค์กรให้มีความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานที่จะนำเอาเทคโนโลยี
อินเตอร์เน็ตและอี-คอมเมิร์ซ เข้ามาประยุกต์ใช้ และทิศทางในการก้าวเดินต่อไปขององค์กร อันจะเป็นความลดความกังวลในการทำงาน และลดการต่อต้าน
ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการจาการทำงานแบบเดิม ไปเป็นกระบวนการแบบใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยีและข้อมูลในการทำงาน

           4. ระบบข้อมูลพื้นและระบบคอมพิวเตอร์ ระบบขอ้มูลพื้นฐานและระบบคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า ระบบ ERP SYSTEM ( emterprise resource
planing ) หรือ ระบบ BACK OFFICE ขององค์กรมีความสามารถ ที่จะรองรับการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและอี-คอมเมิร์ซมาใช้หรือไม่ เนื่องจากการดำเนิน
งานโดยวิธีการแบบใหม่นี้จะมีปริมาณขอ้มูลที่จะต้องเก็บไว้และจะมีปริมาณข้อมูลไหลเวียนจำนวนมาก เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่าง ๆ ( เช่น
ข้อมูลการรับคำสั่งซื้อ ข้อมูลการจัดส่ง ฯลฯ) รวมถึงข้อมูลของลูกค้า เพื่อที่จะสามารถติดตามและวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ข้อมูลการติดต่อ
ทางการค้ากับซัพพลายเออร์ในด้านต่างๆ ขององค์กร ข้อมูลการผลิต และสินค้าคงคลัง เป็นต้น ฃึ่งจะเป็นการบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันตลอดเวลาของการ
ดำเนินงาน เพื่อที่จะให้มีสินค้าและบริการในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อสนองตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อยู่เสมอ ในขณะที่ต้นทุนการดำเนินงานที่
เหมาะสมด้วยเช่นกัน

           5. ระบบอี-คอมเมิร์ซ จะต้องมีการพัฒนาระบบอี-คอมเมิอร์ฃด้วยตัวเอง หรือตัดสินใจเลือกใช้ระบบอี-คอมเมอร์ฃจากผู้ให้บริการต่างๆ ที่จะสามารถ
ทำงานร่วมกับกับกระบวนการในการทำงานขององค์กร และมีความยืดหยุ่นในการพัฒนาปรับปรุงได้ โดยต้องคำนึงถึงการลงทุน การอบรมการใช้งานแก่
พนักงาน เวลาที่ต้องการเข้าสู่ระบบอี-คอมเมิอร์ฃ และสภาวะการแข่งขันเป็นต้น

           6. ระบบรักษาความปลอดภัย องค์กรจำเป็นที่จะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เพื่อรองรับการทำงานของระบบอี-คอมเมิร์ซ เพื่อป้องกันการ
โจรกรรมข้อมูลในทุกๆ ส่วน และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ทุกฝ่ายที่เข้าร่วมใช้ระบบอี-คอมเมิร์ซ

           7.เวลาที่จะเริ่มใช้ระบบอี-คอมเมิร์ซ การเตรียมการเพื่อจะเริ่มใช้ระบบอี-คอมเมิร์ซ จำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่องค์กรสามารถ
เตรียมความพร้อมภายใน เช่น การพัฒนาบุคลากร การจัดเตรียมระบบคอมพิวเตอร์ และให้ทันต่อการแข่งขัน เพื่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสะดวกให้แก่ลูกค้าการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เช่น ฃัพพลายเออร์ เพื่อองค์กรมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนที่เหมาะสม

           8. กลยุทธ์การตลาด นอกจากเตรียมความพร้อมขององค์กรในด้านต่างๆแล้วยังต้องเตรียมการสำหรับกระบวนการด้านการตลาดทั้งในแบบเดิม
( offline marketing ) และแบบใหม่ที่ดำเนินการผ่านเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต ( online marketing ) ให้เป็นไปอย่างผสมผสานและสอดคล้องกัน เพื่อที่จะสามารถ
แข่งขันกับคู่แข่งทางการค้าอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพอี-คอมเมิร์ซ ในวันนี้เป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำไปประยุกต์ในกระบวนการต่างๆ ขององค์กรได้หลาย ๆ
ส่วนไม่ว่าจะเป็นกระบวนการขายสินค้าและบริการให้แก่ผู้บริโภค ที่เรียกว่า B2C E-Commerce และประยุกต์เข้าไปในกระบวนการบริหารห่วงโซ่อุปทาน 
( supply chain management )  ฃึ่งเรียกว่า B2B E-Commerce ที่เป็นกระบวนการประสานงานกับซัพลายเออร์ การผลิต การจัดเก็บและการเคลื่อนย้ายสินค้า
และบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ทันการโดยที่องค์กรจะต้องได้รับประโยชน์สุงสุดเช่นกัน และช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ในโลกการค้ายุคใหม่นี้.......
                                                                              





More information, please contact  
E-mail : chatchai@ckmit.com