การออกใบกำกับภาษีอย่างย่อผ่านทางอีเมล์

     เมื่อกล่าวถึงการทำธุรกิจแน่นอนว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการทั่วไปต้องการคือ "กำไร และผลตอบแทน" ในธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซก็เช่นกันเมื่อมีกำไรและผลตอบแทน สิ่งที่ตามมาและหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นคือ ภาระภาษีที่เกี่ยว ข้อง ปัญหาที่ผู้ประกอบกิจการอี-คอมเมิร์ซ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบบีทูบี (B to B), บีทูซี (B to C) หรือซีทูซี (C to C)
 ต้องเผชิญคือ "ปัญหาการออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่ม"
     โดยเฉพาะในกรณีเวบไซต์ที่ขายสินค้า หรือให้บริการแก่คนทั่วโลกตลอด 24 ชม. โดยไม่หยุดพักผู้ประกอบ การเจ้าของเวบไซต์ดังกล่าวจะออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้าของตนเองอย่างไร และหน้าที่ในการออก ใบกำกับภาษีเป็นอย่างไร ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าในเรื่องของภาษีมูลค่า
เพิ่มนั้นเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมโดยเรียกเก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อขาย และบริการในอัตราร้อยละ 7 ของ ราคาสินค้าและบริการ
     หลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะกำหนดว่าท่านอยู่ในระบบที่ต้องจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ก็คือหากธุรกิจหรือกิจการ
ของท่านมีรายได้เกิน 1,200,000 บาทต่อปี หรือไม่ได้อยู่ในธุรกิจที่เป็นข้อยกเว้นท่านต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่า เพิ่มโดยจดทะเบียบกับกรมสรรพากรให้ถูกต้อง
     ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ และผู้รับบริการโดย ความรับผิดในการออกใบกำกับภาษีมีดังนี้
       การขายสินค้า โดยปกติหน้าที่ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการ โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า หรือได้รับชำระราคาสินค้า หรือได้ออกใบกำกับภาษีเกิดขึ้นก่อนให้ถือว่าความรับผิด ในการเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อมีการกระทำดังกล่าว 
    
ตัวอย่างเช่น  เวบไซต์ ebannok.com ซึ่งขายสินค้าพื้นเมืองของไทย หากนาย ก.เข้ามาซื้อสินค้าเวบไซต์ดัง กล่าว โดยปกติเจ้าของเวบไซต์ ebannok.com ต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่นาย ก. เมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้น
แต่นาย ก. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า หรือนาย ก.ได้ชำระสินค้า หรือเวบไซต์ ebannok.com ได้ออกใบกำ
กับภาษีก่อนการส่งมอบสินค้า
    
  การให้บริการ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการ โดยหลักทั่วไปจะเกิดขึ้น เมื่อมีการชำระค่าบริการ เว้นแต่ผู้ประกอบการออกใบกำกับภาษี หรือผู้รับบริการใช้บริการ ความรับผิดทาง ภาษีจะเกิดขึ้นทันที 
    
ตัวอย่างเช่น  เวบไซต์ nokia.com ให้บริการดาวน์โหลดรูปการ์ตูนลงในมือถือ โดยปกติความรับผิดใน การออกใบกำกับภาษีก็จะเกิดขึ้นเมื่อมีการจ่ายค่าบริการ เว้นแต่มีการใช้บริการหรือออกใบกำกับภาษีก่อน
     หลักดังกล่าวข้างต้นจะใช้กับการชำระเงินตามปกติ แต่หากชำระเงินโดยใช้บัตรเครดิตจะเป็นไปตามกฎ กระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2534) ว่าด้วยความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มในบางกรณี ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
     "ข้อ 4 การขายสินค้าโดยการชำระราคาด้วยการใช้บัตรเครดิต หรือในลักษณะทำนองเดียวกันให้ความรับ ผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่ง มอบสินค้าก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ด้วย

       โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
      
เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต
      
ได้ออกใบกำกับภาษี
     ทั้งนี้โดยความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี
      ข้อ 5 การให้บริการโดยการชำระราคาด้วยการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกันให้ความรับผิด ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต เว้นแต่กรณีที่ได้มีการออกใบ กำกับภาษีก่อนการ ออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิตก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นได้มีการออกใบกำกับภาษีนั้น"
      เหตุที่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้อง เนื่องจากประมวลรัษฎากรมาตรา 89/1 ระบุว่า หากบุคคลใดชำระ ภาษีไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ประกอบการดังกล่าวต้องเสียเงินเพิ่มอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงเบี้ยปรับ ด้วยเหตุนี้จึงเป็น สาเหตุให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับปัญหาการออกใบกำกับภาษี ซึ่งปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับเวบไซต์ ์ก็คือส่วนใหญ่แล้วจะได้รับชำระเงินค่าสินค้าและบริการทันที โดยมีการระบุหมายเลขบัตรเครดิต ดังนั้น
ผู้ปร ะกอบการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้าของตัวทันทีหรือไม่ และหากผู้ซื้อ หรือผู้รับบริการเข้ามาทำรายการซื้อขายในเวลาปิดทำการ วันหยุด หรือซื้อขายหรือรับบริการจากต่างประเทศ
     ผู้ประกอบการจะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อให้แกลูกค้าตัวเองอย่างไร
     คำตอบก็คือ หากผู้ประกอบการดังกล่าวเป็นกิจการขายปลีก หรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมากนั้น ก็สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในรูปแบบของอีเมล์ส่งให้แก่ลูกค้าทางอินเทอร์เน็ตได้ตามประมวลรัษฎา
กรมาตรา 86/6 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 32 และคำตอบหนังสือหารือของ กรมสรรพากรที่ กค 0811/พ 04927
     โดยกิจการที่ถือว่าเป็ฯการขายสินค้า หรือให้บริการแก่บุคคลจำนวนมากต้องมีลักษณะดังนี้คือ
       (1)  เป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่า ขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง และได้ขายในปริมาณที่ตาม ปกติวิสัยของผู้บริโภคจะนำสินค้าไปบริโภค หรือใช้สอย โดยมิได้มีวัตุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ
       (2)   การให้บริการในลักษณะบริการรายย่อย และบุคคลจำนวนมาก
       (3) ผู้ประกอบการตาม (1) และ (2) จะต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษให้มีรายการครบถ้วน  ตามที่กฎหมายกำหนด 
     ดังนั้นหลายๆ ท่านที่อ่านมาถึงจุดนี้ก็คงจะพอเข้าใจแล้ว่าไม่ว่าท่านจะประกอบธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ท่านก็ สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อโดยทางอีเมล์ ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้



                                                                   กลับหน้าแรก