การใช้งาน VoIP พื้นฐานนั้นแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ ไม่ว่าจะมีคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์อยู่แล้ว ก็สามารถ

ใช้ VoIP ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์อื่น ๆ เพิ่มเติม

     1.  ใช้งานจากคอมพิวเตอร์ถึงคอมพิวเตอร์ (PC TO PC) เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการใช้ VoIP เพราะทำให้ผู้

ใช้ไม่ต้องจ่ายค่าโทรศัพท์ทางไกลอีกต่อไป ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ไคลเอ็นต์สำหรับ VoIP จำนวนมากทั้งที่

แจกฟรีหรือขายในราคาไม่แพง โดยอุปกรณ์ที่จำเป็นนอกจากซอฟต์แวร์แล้วก็คือ ไมโครโฟน ลำโพงและ

อินเทอร์เน็ต ซึ่งถ้าเป็นไปได้การเลือกใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างเคเบิลโมเด็มหรือ DSL จะให้คุณภาพ

ของการสนทนาดีกว่า

 

     2.  การใช้งานจากคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์ (PC TO TEL) ซึ่งในกรณีนี้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถโทรไป

ยังโทรศัพท์ปลายทางเช่นเดียวกัน โดยวิธีนี้จะต้องใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายไอพีและเชื่อมไปยัง

เครือข่ายของโทรศัพท์ (Router to PBX) และผู้ใช้จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ โดยอาจจะเป็นซอฟต์แวร์ทั่วไป

หรือซอฟต์แวร์เฉพาะผู้ใช้ต้องโทรไปยังผู้ให้บริการ และผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อไปยังโทรศัพท์ปลายทางอีกที

หนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ให้บริการจะคิดค่าใช้จ่ายถูกกว่ามากถ้าเทียบกับโทรศัพท์ปกติ

 

    3.  การใช้งานระหว่างโทรศัพท์กับคอมพิวเตอร์ (TEL TO PC) มีผู้ให้บริการที่ผู้ใช้สามารถโทรเข้าไปยัง

เบอร์ที่จัดไว้เพื่อเชื่อมต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้ อย่างไรก็ตามผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีซอฟต์

แวร์จากผู้ให้บริการติดตั้งไว้ด้วย สำหรับค่าบริการ (ทั้งฝั่งผู้โทรและผู้รับ) ก็ยังถูกกว่าใช้โทรศัพท์ปกติอยู่มาก

เช่นกัน

 

     4.  การใช้งานระหว่างโทรศัพท์กับโทรศัพท์ (TEL TO TEL) จะใช้เกตเวย์เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ ทำ

ให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อโดยตรงไปยังโทรศัพท์ปกติได้ทั่วโลก โดยผู้ใช้จะโทรไปยังศูนย์ของผู้ให้บริการ แล้ว

กดเบอร์ปลายทาง จากนั้นทางศูนย์บริการจะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นข้อมูลส่งผ่านเครือข่ายไอพีไป

ยังปลายทางแล้วแปลงกลับเป็นสัญญาณโทรศัพท์ให้อัตโนมัติ อย่างไรก็ตามข้อเสียของวิธีนี้ก็คือ ผู้ใช้จำเป็น

ต้องโทรไปยังหมายเลขพิเศษก่อน แต่ค่าบริการก็ยังคงถูกกว่าโทรศัพท์ปกติเช่นกัน (เช่น PINPHONE 108)

 

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยี VoIP จะทำให้เราสามารถโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง

กว่าปกติ แต่ก็เหมาะสำหรับการใช้งานที่บ้านหรือที่ทำงานซึ่งมีผู้ใช้เพียงไม่กี่คนเท่านั้น เนื่องจากมีแบนด์วิดธ์

สำหรับการส่งข้อมูลที่ไม่สูงมากนัก ทำให้การใช้งานพร้อมกันหลาย ๆ คนเกิดปัญหาการคับคั่งของข้อมูลบน

ระบบเครือข่าย จนส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ได้ในที่สุด

     อย่างที่ทุกท่านทราบ VoIP จะมุ่งเน้นไปทางการให้บริการทางด้านการสื่อสารด้วยเสียงเป็นหลัก ดังนั้นจึง

ไม่มีความสามารถของการสื่อสารข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดีย ตามที่องค์กรหลาย ๆ แห่งต้องการที่จะให้เป็น ดังนั้น

ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและโทรคมนาคม ต่างก็ทยอยเปิดตัวอุปกรณ์โทรศัพท์ที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย

ไอพีได้โดยตรงออกมาบ้างแล้ว อุปกรณ์ลักษณะนี้จะทำงานเหมือนเป็นคอมพิวเตอร์ แต่ว่าได้รับการออกแบบ

มาสำหรับฟังก์ชันของ VoIP โดยเฉพาะ (สนับสนุนโพรโตคอลที่เกี่ยวข้อง)

    ตัวอย่างอุปกรณ์เหล่านี้ก็ได้แก่

(http://www.cisco.com/univercd/cc/td/doc/pcat/7960.htm)

(http://www.nortelnetworks.com/products/01/succession/es/i2002/)

 

โทรศัพท์นี้จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายอีเทอร์เน็ต โดยมีสวิตช์ทำหน้าที่เป็นแบ็กเอนด์ในการทำงาน

สำหรับฟังก์ชันเพิ่มเติมต่าง ๆ เช่น ระบบฝากข้อความ บริการตอบรับอัตโนมัติและฟังก์ชันอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

รวมทั้งทำหน้าที่เชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ปกติในกรณีที่ต้องการโทรไปยังโทรศัพท์แบบอนาล็อกด้วย

ถึงแม้ว่าในขณะนี้อาจจะยังไม่แพร่หลายนัก ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและการตอบรับจากผู้ให้บริการโทรศัพท์

ปกติแต่อีกไม่นาน VoIP จะเข้ามาแทนที่โทรศัพท์ปกติอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ VoIP ผ่านเครือ

ข่ายสาธารณะอย่างอินเทอร์เน็ต ที่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานจำนวนมาก VoIP น่าจะ

ได้รับความนิยมจากภาคธุรกิจก่อน และหลังจากนั้นก็จะขยายไปยังผู้ใช้บริการตามบ้านในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

 

        IP Telephony คือระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายไอพีโดยใช้ประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย

อินเทอร์เน็ตกับฟังก์ชันของ PSTN (Public Switched Telephone Network) ซึ่งจะเป็นการส่งข้อมูล

ผ่านไปบนโครงข่ายของระบบอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ ซึ่งสามารถอินทีเกรตกับโครงสร้าง PSTN เดิมที่มี

อยู่แล้วได้แม้ IP Telephony จะมุ่งเน้นเพื่อให้บริการรับส่งข้อมูลที่เป็นเสียงเป็นหลักแต่มันก็มีความสามารถ

อื่น ๆ ที่มีในระบบอินเทอร์เน็ตได้ อย่างเช่น การส่งแฟกซ์ วีดีโอและข้อมูลผ่านโมเด็มได้ การรวมกันของ

อินเทอร์เน็ตกับ PSTN นั้น จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้ช่วยเพิ่มโอกาสในธุรกิจของคุณได้ด้วย

     หลายคนอาจจะกำลังสับสนกับคำว่า VoIP และ IP Telephony ทั้งที่เทคโนโลยีทั้งสองนี้ ทำให้เราสามารถ

โทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ VoIP เป็นแค่วิธีการส่งข้อมูลเสียงไปบนเครือข่ายไอพี แต่ IP Telphony

คือระบบการส่งภาพ เสียงและข้อมูลได้พร้อม ๆ กันบนเครือข่ายไอพีได้นั่นเอง

     ระบบโทรศัพท์ผ่านไอพี ซึ่งเป็นระบบที่รวมเอาการติดต่อสื่อสารข้อมูลประเภทต่าง ๆ เช่น ข้อมูลภาพและ

เสียงเข้าด้วยกัน ผ่านโครงข่ายที่ส่งข้อมูลแบบเป็นแพ็กเก็ต ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับเครือข่าย บริการรูปแบบใหม่

เหล่านี้ด้วยการอาศัยการส่งข้อมูลประเภทต่าง ๆ เข้าด้วยกันบนเส้นทางเชื่อมต่อเดียวทำให้ธุรกิจขนาดเล็กไป

จนถึงขนาดใหญ่ สามารถลดค่าใช้จ่ายสำหรับระบบเครือข่ายเสียงและข้อมูลได้มากทีเดียว

 

     การพัฒนาของสถาปัตยกรรมระบบเครือข่ายโทรศัพท์ผ่านไอพีแบบมัลติเลเยอร์นั้น จะนำไปสู่องค์ประกอบ

ของเครือข่ายแบบใหม่ ซึ่งฟังก์ชันจะมีหน้าที่ในการทำงานที่ชัดเจน การที่เราแยกระบบเครือข่ายออกเป็นส่วน ๆ

นั้น จะช่วยทำให้เกิดการขยายระบบในอนาคตได้ดีขึ้น เครือข่ายของระบบโทรศัพท์มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่ง

องค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะประกอบไปด้วย

 

     1.  Media Gateway (MG)

          คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่าง Circuti Switched และ Packet Switched

ของเครือข่ายเข้าด้วยกัน

     2.  Media Gateway Controller/Call Agent (MGC/CA)

          MGC/CA มีหน้าที่ลงทะเบียนและจัดการทรัพยากรของ Media Gateway (MG) ช่วยจัดการในส่วน

ของการเรียกเข้าและควบคุมการเข้าถึงระบบและ Interworking ระหว่าง Signalling Prptocols ด้วย

     3.  Signalling Gateway (SG)

          อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลง Control signal จากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งเช่น SIGTRAN ซึ่ง

signalling gatewar จะแปลง SS7 signal (เป็นโพรโตคอลที่ใช้ public switched telephone

system สำหรับการโทรเข้าออก) ของ PSTN ไปเป็น SIGTRAN เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลไปบนเครือข่ายไอพี

     4.  Gatekeeper (GK)

          มีหน้าที่จัดการและควบคุมการโทรเข้าออก สามารถจัดการกับทรัพยากรของเครือข่ายได้ นอกจากนี้ยัง

ควบคุมสิทธิในการเรียกใช้อุปกรณ์ และยังสนับสนุน Registration, Admission และ Status (RAS)

สำหรับเทอร์มินอลและเกตเวย์อีกด้วย

     5.  Softswitches

          Softswitches เป็นอุปกรณ์ประเภท all-in-one ที่มีความฉลาดเฉลียวมาก มีความสามารถของ

Media Gateway Control, ฟังก์ชันของ Gatekeeper, ควบคุมการ Call ที่ซับซ้อน และให้บริการในแบบ

backend อย่างการ authenticate การทำ Billing และจัดการในเรื่องของระบบการรักษาความปลอดภัย

     6.  Multipoint Conference Unit (MCU)

          MCU จะรองรับการประชุมระหว่างจุดให้บริการระหว่าง 3 จุดขึ้นไป โดยจะมี 2 ส่วน คือ Mulit-point

control (MC) สำหรับสัญญาณ และ Multi-point processor (MP) สำหรับรองรับการประมวลผลทางด้าน

มีเดียสตรีมและ MCU ยังสามารถทำงานเป็น stand-alone (เช่น พีซี) หรือรวมเข้าไปใน Gateway,

Gatekeeper หรือ Terminal

     7.  IP Phones/Appliances

          IP Phones และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง นั้นเป็นเหมือนเทอร์มินอลหรือเอนด์พอยนต์ที่มีฟีเจอร์ในการเซต

และจัดการในเรื่องของการรีโมตและควบคุมการทำงานได้หรือทำหน้าที่เป็นโทรศัพท์นั่นเอง

 

 

<<< กลับไป หน้า 1                                                                           ถัดไป หน้า 3 >>>