นอกเหนือจาก H.323 แล้วยังมี Session Initiation Protocol (SIP) ที่กำหนดขึ้นโดย International

Engineering Task Force (IETF) ซึ่งเป็นโพรโตคอลในการสื่อสารข้อมูลแบบสตรีมไลน์ (Streamlined)

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับไอพีโฟน SIP ได้รับการออกแบบให้มีขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพสูงกว่า H.323 โดย

ส่วนประกอบที่สำคัญของ SIP คือ

     1. Media Gateway Control Protocol (MGCP) จะสร้างการเชื่อมต่อระหว่างเกตเวย์กับโครงข่าย

โทรศัพท์ PSTN

     2. Session Annoucement Protocol (SAP) ใช้สร้างเซสซันโดยเฉพาะกรณีที่ส่งข้อมูลแบบมัลติแคส

     3. Real-time Streaming Protocol (RTSP) ทำหน้าที่ควบคุมการส่งข้อมูลให้เป็นไปตามคุณภาพที่

ต้องการ โดยทั้งสามส่วนนี้จะใช้ Session Description Protocol (SDP) เพื่อบอกรายละเอียดของมีเดีย

ที่สื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นเสียง วีดีโอหรือข้อมูลมัลติมีเดียอื่น ๆ

 

    มีหน้าที่กำหนดการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ประเภท Call Agents และ Telephony Gateway Call Agent

ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อ Media Gateway Controllers โดยเป็นศูนย์กลางประสานงานกับเครื่องตรวจสอบกิจกรรม

ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบโทรศัพท์และเกตเวย์ รวมทั้งยังบอกเส้นทางเพื่อส่งข้อมูลเสียงไปยังปลายทาง

MGCP ถูกพัฒนามาจาก Simple Gateway Control Protocol และ Internet Protocol Device Control

 

     RTP ถูกใช้โดย SIP และ H.323 เพื่อทำงานด้านของการสื่อสารแบบเรียลไทม์ เช่น ออดิโอและวีดีโอบน

เครือข่ายแพ็กเก็ตสวิตชิง มีหน้าที่จัดการเรื่องข้อมูลประเภทเวลาไปยังผู้รับ โดยสามารถแก้ไขค่าดีเลย์ของ

สัญญาณได้ยอมให้ผู้รับสามารถค้นหาแพ็กเก็ตที่สูญหาย และประเมินเส้นทางในการส่งข้อมูลอีกด้วย

     นอกจากนี้แล้ว RTP จะมีหน้าที่จัดการในเรื่องของการส่งข้อมูลไปยังผู้รับ ซึ่งสามารถกู้คืนได้ในกรณีที่

แพ็กเก็ตสูญหายหรือ jitter โดย RTP ได้รับการประกาศใช้จาก IETF ใน RFC 1889 ซึ่งหน้าที่หลักก็เพื่อให้

บริการฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น การจัดลำดับ การกำหนด payload และ intra-media synchrinization กับ

Real-time Transport Control Protocol (RTCP)

     RTCP เป็นโพรโตคอลที่ทำงานร่วมกับ RTP เพื่อควบคุมทำงานในเรื่อง QoS Feedback การควบคุม

เซสซัสของการส่งข้อมูล การกำหนดเกี่ยวกับผู้ใช้ และ inter media synchrinization เพื่อเข้าจังหวะ

ระหว่างออดิโอและวีดีโอสตรีม

 

     RTSP ประกาศโดย IETF ใน RFC 2326 เพื่อควบคุมการส่งข้อมูลประเภทมีเดียแบบเรียลไทม์

     Session Description Protocol (SDP)

     SDP เป็นโพรโตคอลที่ประกาศโดย IETF ใน RFC 2327 ให้ความช่วยเหลืออธิบายในเรื่อง multimedia

session ซึ่งใช้สำหรับบอกให้รู้ถึง Session, session invitation

 

ทั้งหมดนี้เป็นโพรโตคอลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบโทรศัพท์ผ่านไอพี นอกจากเรื่องของ

โพรโตคอลแล้ว เรื่องที่ควรเรียนรู้ก่อนการนำระบบโทรศัพท์แบบนี้มาใช้ก็คือ ขั้นตอนของการออกแบบและติด

ตั้งระบบนั่นเอง

 

 

        ระบบโทรศัพท์ผ่านไอพี นับเป็นเทคโนโลยีที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของเครือข่ายที่มีอยู่ได้มาก

ขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถลดค่าใช้จ่ายของการสื่อสารลงได้ ซึ่งหัวใจของเทคโนโลยีดังกล่าวก็คือ

การรวมระบบสื่อสารทางด้านเสียงและข้อมูลเข้าไว้ด้วยกัน ถ้ามีระบบเครือข่ายที่เร็วพออยู่แล้วการใช้ระบบ

โทรศัพท์แบบนี้แทบจะไม่ส่งผลกระทบกับการทำงานเดิมที่มีอยู่เลย

     สำหรับขั้นตอนการติดตั้งระบบนั้น สามารถทำได้โดยใช้กระบวนการ PDIO ซึ่งประกอบด้วย วางแผน

(Plan), ออกแบบ (Design), ติดตั้ง (Implementation), ใช้งาน (Operation) และการออปติไมซ์

(Optimizaion) กลยุทธ์นี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า สามารถช่วยให้การเพิ่มเทคโนโลยีด้วยระบบ

โทรศัพท์ผ่านไอพี ลงในระบบไอทีที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

      1.  วางแผน (Plan)

          เป็นขั้นแรกที่จะต้องประเมินทรัพยากรที่มีอยู่และความต้องการใช้งานในส่วนที่เพิ่มเติม (กรณีที่มีเครือ

ข่ายอยู่แล้ว) เพื่อให้ทราบก่อนว่าระบบเครือข่ายที่มีอยู่นั้น สามารถรองรับแอพพลิเคชันของระบบโทรศัพท์ที่

จะติดตั้งได้หรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นของความเข้ากันได้ (Compatible) ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือ

ข่ายต้องทำงานร่วมกับระบบที่มีอยู่ได้โดยมีการแก้ไขเพียงเล็กน้อยเท่านั้นหรือไม่ต้องมีการแก้ไขอะไรเลย ก็จะ

ดีมาก เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นนั่นเอง

         ในขั้นตอนของการประเมินควรจะตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่

ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบรักษาความปลอดภัย ไอพีแอดเดรส จุดเชื่อมต่อต่าง ๆ (Link) และเคเบิล

สามารถทำงานร่วมกับระบบโทรศัพท์ผ่านไอพีได้ ซึ่งต้องมีการประเมินข้อมูลเกี่ยวกับ PBX ที่ใช้อยู่ (เช่น

แบนด์วิดธ์เพียงพอหรือไม่เป็นต้น) เพื่อให้สามารถคาดเดาประสิทธิภาพของการสื่อสารด้วยเสียง เทียบ

กับความต้องการหลังจากที่ติดตั้งระบบโทรศัพท์ไปแล้ว

         ด้วยการวางแผนที่ดี เราจะสามารถเปลี่ยนไปใช้ระบบโทรศัพท์ได้อย่างรวดเร็วและไม่ก่อให้เกิดปัญหา

ตามมาในภายหลัง จากข้อมูลในขั้นตอนนี้ สามารถคาดเดา Utilization ของระบบเครือข่ายได้ว่าควรจะเป็น

เท่าใด รวมทั้งยังทำให้ทราบอีกด้วยว่า ต้องติดตั้งอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมจึงจะทำให้ระบบโทรศัพท์ตอบสนอง

ความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

 

        2. การออกแบบ (Design)

         หลังจากที่ขั้นตอนประเมินผ่านไปแล้ว ขั้นต่อมาก็คือจะต้องออกแบบเครือข่ายของระบบโทรศัพท์ผ่าน

ไอพี ถึงแม้ว่าเราจะได้ออกแบบระบบโทรศัพท์แบบนี้ไว้อยู่แล้ว แต่เราควรออกแบบทางเลือกไว้หลาย ๆ แบบ

(เช่น การออกแบบโดยเน้นให้ประหยัดงบประมาณ หรือออกแบบให้ระบบมีทรัพยากรเหลือสำหรับแอพพลิเค

ชันในอนาคตมากที่สุด เป็นต้น) เพื่อให้สามารถนำการออกแบบแต่ละอย่างมาเปรียบเทียบกันได้ว่า การออก

แบบใดจะเหมาะสมมากที่สุด

         สำหรับประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในขั้นตอนนี้ อาจจะต้องแบ่งได้เป็นประเด็นที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวข้อง

กับฟังก์ชันการทำงานของระบบ โดยประเด็นที่เกี่ยวข้องก็ได้แก่ จำนวนสายโทรศัพท์ที่ต้องใช้  จะมีบริการ

วอยซ์เมล์ บริการตอบกลับอัตโนมัติ หรือระบบฝากข้อความผ่านอีเมล์หรือไม่ เป็นต้น ส่วนประเด็นที่ไม่เกี่ยว

ข้องก็จะประกอบด้วยความปลอดภัย (Security), ระบบสำรอง (Redundancy), ความสามารถในการขยาย

ระบบ (Scalability) และการทำงานร่วมกับระบบไอทีที่มีอยู่ (Integration)

         สำหรับการออกแบบเพื่อให้ทำงานร่วมกับระบบที่มีอยู่เดิมได้นั้น นับเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยที่เราต้อง

คำนึงถึงการออกแบบระบบเครือข่ายแลน/แวนให้สอดคล้องกันในส่วนของซอฟต์แวร์ก็อาจจะใช้ระบบไดเรกทอรี

Lightweight Directory Access Protocol (LDAP) เพื่อให้เข้าใช้ข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในบางครั้งเราอาจต้องการใช้งานทั้งระบบโทรศัพท์ผ่านไอพีและ PBX แบบเดิมควบคู่กันไป ซึ่งจำเป็นต้องได้

รับการออกแบบให้เหมาะสมด้วยเช่นกัน

         การคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า การออกแบบระบบโทรศัพท์ผ่าน

ไอพีนี้ จะสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างครบถ้วน โดยมี Qos (Quality of Service) เพื่อตรวจ

สอบคุณภาพในการให้บริการอีกที ในขณะที่ขั้นตอนดังกล่าวจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดการลงได้อีกมากที

เดียว

 

       3. การติดตั้ง (Implementation)

         การติดตั้งนับเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญไม่น้อย เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ทำให้ระบบโทรศัพท์ผ่านไอพีมี

ฟังก์ชันตรงตามที่ต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างครบถ้วน สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับการ

วางแผนในขั้นตอนนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ แผนในการติดตั้งและแก้ไขเครือข่ายที่มีอยู่ แผนในการเริ่มต้น

การใช้งาน ที่สำคัญก็คือ การทดสอบระบบ (Acceptance Testing) เพราะจะต้องใช้เวลาที่เหมาะสมนั่นคือไม่

มากจนทำให้ความใช้งานเกิดความล่าช้า ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่น้อยเกินไปจนก่อให้เกิดปัญหาต่อการใช้

งานจริง

         สำหรับประโยชน์ที่ได้จากการวางแผนในขั้นตอนนี้ก็คือ ช่วยลดประเด็นที่อาจก่อให้เกิดความผิดพลาด

ของระบบโทรศัพท์ผ่านไอพีเมื่อใช้งานจริงได้ เช่นเดียวกับที่ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ช่วย

ให้การใช้งานระบบโทรศัพท์แบบใหม่นี้มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด

 

     4.  การใช้งาน (Operation) และการออปติไมซ์ (Optimization)

          เป็นสองขั้นตอนสุดท้ายก่อนการติดตั้งระบบโทรศัพท์ผ่านไอพี โดยการวางแผนการใช้งาน จะช่วยให้

การลงทุนในระบบมีความคุ้มค่าและช่วยให้เจ้าหน้าที่ รวมทั้งผู้ใช้สามารถเริ่มต้นกับระบบโทรศัพท์ที่ติดตั้งนี้ได้

โดยเกิดปัญหาให้น้อยที่สุด รวมถึงยังช่วยเตรียมแผนสำรองในกรณีที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ส่วนการวาง

แผนในขั้นของออปติไมซ์นั้นทำให้สามารถใช้งานทรัพยากรของระบบเครือข่ายที่มีอยู่อย่างเต็มที่และคุ้มค่ามาก

ที่สุด ซึ่งก็หมายถึง การเพิ่มประสิทธิภาพ ลดปัญหาที่เกี่ยวกับเครือข่ายและลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวลงได้นั่นเอง

         ด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบและรัดกุม จะช่วยให้การขยายระบบเครือข่ายเพื่อรองรับการให้บริการ

ระบบโทรศัพท์ผ่านไอพีทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยังคงคุณภาพในการให้บริการกับแอพพลิเคชันที่มีอยู่

เดิมไปจนถึงฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารด้วยเสียงได้สูงสุด นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการจัดเตรียม

ทรัพยากรบุคคลและการฝึกอบรม เพื่อให้พร้อมกับเทคโนโลยีใหม่รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันอำ

นวยความสะดวกของระบบโทรศัพท์ได้อย่างเต็มที่มากที่สุดด้วย

         ระบบโทรศัพท์ผ่านไอพีนับเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญตอบสนองความต้องการที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารด้วย

เสียง ในขณะเดียวกันก็ลดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ขององค์กรที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงขนาด

ใหญ่ที่มีการขยายตัว สำหรับการติดตั้งระบบโทรศัพท์แบบนี้แล้ว ทุกอย่างสามารถเป็นไปได้ตามแผนถ้าดำเนิน

ตามขั้นตอนตามกระบวนการ PDIO ซึ่งจะช่วยให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเครือข่ายที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่และ

คุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด

 

 

<<< กลับไป หน้า 3                                                                           ถัดไป หน้า 5 >>>